เพลง วันชาติ 24 มิถุนา

24 มิถุนา ยนมหาศรีสวัสดิ์
ปฐมฤกษ์ของรัฐ ธรรมนูญของไทย
เริ่มระบอบอารยะประชาธิปไตย
ทั่วราษฎรไทย ได้สิทธิเสรี
สำราญ สำเริง รื่นเริง เต็มที่
เพราะชาติเรามีเอกราชสมบูรณ์
ไทยจะคงเป็นไทย ด้วยร่วมใจเทิดไทย ชโย

ชาติประเทศเหมือนชีวา ราษฎร์ประชาเหมือนร่างกาย
ถ้าแม้ว่าชีวิตมลายร่างกายก็เป็นปฏิกูล
พวกเราต้องร่วมรักพิทักษ์ไทยไพบูลย์
อีกรัฐธรรมนูญคู่ประเทศไทย
เสียกายเสียชนม์ยอมทนเสียได้
เสียชาติประเทศไทยอย่ายอมให้เสียเลย
ไทยจะคงเป็นไทย ด้วยร่วมใจเทิดไทย ชโย

ผู้แต่ง : ครูมนตรี (บุญธรรม) ตราโมท


(ภาพจาก นิตยสารสารคดีฉบับเดือนมิถุนายน 2542)

“หมุดคณะราษฎร์”


(ภาพจากบทความ “หมุดก่อเกิด รัฐธรรมนูญบนผิวถนน” โดย กีรติ)

หมุดทองเหลืองนี้ฝังอยู่ที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า


(ภาพจาก bangkoktourist.com)

ข้อความที่หมุดนั้นอ่านว่า
“ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง
คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ”

คงไม่มีใครไม่ทราบว่า วันที่ 24 มิถุนายน 2475 นั้นมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศอย่างมาก เป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็น ระบอบที่มีรูปแบบการปกครองที่มีรัฐสภา มีคณะรัฐมนตรี โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารสูงสุด

ส่วนจะมีประชาธิปไตยมากแค่ไหนในช่วง 75 ปีที่ผ่านมานั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ในอดีต วันที่ 24 มิถุนายน เคยถูกกำหนดให้เป็น “วันชาติ” ของประเทศด้วย ดังปรากฏอยู่ในประกาศ เรื่องวันชาติ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2481 ในสมัยพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี

ส่วนการเฉลิมฉลองวันชาติ 24 มิถุนา ครั้งแรกนั้น จัดในปีถัดมา คือ 24 มิถุนายน 2482 ซึ่งเป็นสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม

ถือว่าวันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันหยุดราชการ

นอกจากนี้แล้วในวันที่ 24 มิถุนายน 2482 (วันเดียวกัน) รัฐบาลได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี “ว่าด้วยรัฐนิยมใช้ชื่อประเทศ, ประชาชน และสัญชาติ” โดยมีเนื้อหาว่า (ตัดทอนข้อความมา) ในภาษาไทย ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ ให้ใช้ว่า “ไทย” ในภาษาอังกฤษ ชื่อประเทศ ให้ใช้ว่า Thailand ชื่อประชาชน และสัญชาติ ให้ใช้ว่า Thai

จึงถือได้ว่าเป็นวันเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” อีกด้วย (แม้ว่าบางกระแสจะเห็นว่า ควรนับตั้งแต่การเสนอ ร่างพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญขนานนามประเทศ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2482 มากกว่า)

ต่อมาในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ได้มีมติ “ให้ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2481 เรื่อง วันชาติ นั้นเสีย และให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย” โดยประกาศไว้เมื่อ 21 พฤษภาคม 2503

ซึ่งต่อมาในวันที่ 8 มิถุนายน 2503 ก็ได้มีประกาศให้ยกเลิกการหยุดราชการในวันที่ 24 มิถุนายน เพราะไม่ได้เป็นวันชาติอีกต่อไปแล้ว

เพลงวันชาติ แต่งโดยครูมนตรี ตราโมท เป็นเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อประกวดในงานฉลองวันชาติ โดยได้รับรางวัลที่ 1

สำหรับปี พ.ศ. ที่แต่งนั้น อ้างจาก reference ที่ข้าพเจ้าหามานั้น มีทั้งปี 2482 และปี 2483 เดิมทีข้าพเจ้าเชื่อว่าน่าจะเป็นปี 2482 มากกว่า เพราะเป็นการเฉลิมฉลองวันชาติ 24 มิถุนายนครั้งแรก ทางราชการอาจต้องการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ ถ้าจะให้มีการประกวด “เพลงวันชาติ” ก็น่าจะเป็นไปได้อยู่

แต่ถ้าพิจารณาถึงประเด็นการเปลี่ยนชื่อประเทศประกอบด้วยแล้ว ข้าพเจ้าคิดเดาเอาเองว่า แม้จะมีกระแสต้องการให้เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทยมาก่อนปี 2482 แต่ชื่ออย่างเป็นทางการก็ยังคงเป็นสยามอยู่ การแต่งเพลงวันชาติก่อนการประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศนั้น ไม่น่าจะใช้คำว่า “ไทย” ตามที่ปรากฎในเนื้อเพลง

นอกจากจะมีเหตุผลอย่างอื่น หรือ ข้อกำหนดอื่นสำหรับการแต่งเพลงเพื่อประกวดในครั้งนั้น

ดังนั้นถ้ามีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีในเดือนมิถุนายน 2482 และ การเสนอร่างพระราชบัญญัติ ฯ ในเดือนสิงหาคม (ปีเดียวกัน) การ(เตรียมตัว)แต่งเพลงเพื่อประกวดในปี พ.ศ. 2483 ก็มีความเป็นไปได้อยู่เหมือนกัน

    หมายเหตุ
    ข้อมูลเรื่องปีที่ประกวดเพลงนั้น ส่วนหนึ่งเป็นข้อสันนิษฐานเป็นเพราะความสงสัยของข้าพเจ้าเอง ถ้าหากใครมีข้อมูลที่แน่นอนกรุณาแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบด้วย เพระ reference ที่ข้าพเจ้าใช้อ้างมานั้นยังแย้งกันเองอยู่

References

  • วันชาติ จาก wikipedia
  • 24 มิถุนา เคยเป็นและเลิกเป็นวันชาติได้อย่างไร? โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
  • 20 พฤษภาฯ วันสิ้น(วัน)ชาติ โดย เกษียร เตชะพีระ
  • มนตรี ตราโมท จาก wikipedia
  • ประวัติครูมนตรี ตราโมท
  • ฟังเพลงปลุกใจให้ฮึกเหิม จากผู้จัดการออนไลน์
  • เกร็ดการเปลี่ยนชื่อ “สยาม” เป็น “ไทย”
  • “ประเทศไทย” อายุครบ ๖๕ : ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อประเทศปี ๒๔๘๒ โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
  • วินัยชาวพุทธ (มาตรฐานชีวิตของชาวพุทธ) – ในหนังสือ “ธรรมนูญชีวิต”


    เครื่องหมาย >> แปลว่า สามารถ click เข้าไปดูรายละเอียดได้


    วินัยชาวพุทธ
    พระสงฆ์มีวินัยของพระภิกษุ ที่จะต้องประพฤติให้เป็นผู้มีศีล ชาวพุทธทั่วไปก็มีวินัยของคฤหัสถ์ ที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นมาตรฐาน

    อ่านเพิ่มเติม

    Speech by Bill Gates – at Harvard University – (June 7, 2007)


    เมื่อประมาณ
    30 ปีก่อน Bill Gates ได้ drop การเรียนที่ มหาวิทยาลัย Harvard เพื่อไล่ตามความฝันของเขา บนเส้นทางธุรกิจ computer software และได้ประสบความสำเร็จอย่างมากกับบริษัท Microsoftแม้ว่าเขาจะไม่เคยได้รับปริญญาเลยสักใบ

    เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 2007 ที่ผ่านมานี้ Bill Gates กลับมาที่ Harvard อีกครั้งเพื่อรับปริญญากิตติมศักดิ์ (An Honorary Law Degree) และได้ให้ Commencement Speech กับผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Harvard ในปีนี้ด้วย

    อ่านเพิ่มเติม

    “Snacks Debut” Stop Motion VDO


    The Plin, :-p Theater วันนี้ ขอเสนอ VDO จากค่าย Plin, :-p Pictures เรื่อง Snacks Debut ซึ่งเป็น VDO เรื่องแรกของของปี พ.ศ. 2550 นับเป็น Stop Motion VDO เรื่องที่ 2 ของผู้กำกับ Plin,:-p (และถือเป็นเรื่องที่ 4 ที่ได้มาฉายที่โรงหนังโรงเล็กแห่งนี้)ข้าพเจ้าค่อย ๆ ดัดแปลง VDO นี้หลายครั้ง อันที่นำมาขึ้น blog นี้ เป็น version ล่าสุดที่จริงข้าพเจ้าก็ยังไม่ค่อยพอใจนัก แต่ว่า… พอแล้วล่ะ ไว้ข้าพเจ้าจะทำใหม่เรื่องถัดไปละกัน

    อ่านเพิ่มเติม

    VDO นกน้อยอยากกิน Jele


    หมายเหตุ เรื่องนี้ผมใช้รูปแค่ 298 รูป (ในช่วง VDO ซึ่งยาวประมาณ 50 วินาที) เท่านั้นครับ ปกติควรต้องใช้รูปเยอะกว่านี้หลายเท่า ภาพจะได้ละเอียด และ smooth มากกว่านี้ พอดีว่าจะลองทำเล่นๆ ดูน่ะครับ ตามประสาคนไม่ค่อยมีเวลา

    ศรีลังกา (10) : Nuwara Eliya และ Ceylon Tea


    หลังจากเราไป Royal Botanical Garden กันแล้ว พวกเราก็ไปเมื่อง Nuwara Eliya (นัวเรอเอเลีย) กันครับ
    เมือง Nuwara Eliya นี้ เป็นเมืองในภูเขาครับ สูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยก็ประมาณ 1,990 เมตร (ประมาณ 6,128 ฟุต)ด้วยความสูงขนาดนี้ อากาศจึงค่อนข้างหนาวเย็น และแตกต่างจากอากาศบนพื้นราบค่อนข้างมาก อุณหภูมิโดยเฉลี่ยจะประมาณ 14 – 21 องศาเซลเซียสในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน, ประมาณ 16 – 18 องศาเซลเซียสในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม, และประมาณ 15 – 18 องศาเซลเซียสในช่วงเดือนกันยายนถึงธันวาคม

    โดยในขณะที่อุณหภูมิตามชายฝั่งก็จะประมาณ 26 องศาเซลเซียส

    ตอนแรกผมก็คิดว่า อืม สูงขนาดนี้ผู้คนคงเบาบาง แต่ผมคิดผิดถนัดครับ ระหว่างทางนี่ รถเยอะมากทั้งขาไป และสวนกลับ

    ขณะที่เราขับรถขึ้นเขากันนี้ ก็จะเห็นน้ำตกเป็นระยะ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ อีกทั้งทิวทัศน์หุมเขาก็สวยงามมาก เสียดายที่ตอนขาขึ้นนี้ไม่ได้ถ่ายไว้

    เรื่องของเรื่องคือ ที่ความสูงระดับนี้นั้น มันมีเมืองทั้งเมืองอยู่จริง ๆ ครับ มีทั้งโบสถ์ วัด ที่ทำการไปรษณีย์ บ้าน โรงแรม สนามแข่งม้า สนามแข่งรถ สนามกอล์ฟ ไร่

    อ่านเพิ่มเติม

    ศรีลังกา (9) : สวนพฤกษชาติ (Royal Botanical Garden, Peradeniya)


    หลังจากเรานมัสการพระเขี้ยวแก้วที่แคนดี้แล้ว เนื่องจากเช้านี้ทำเวลาได้ค่อนข้างดี เราก็เลยไปเที่ยวกันต่อ

    พวกเราออกเดินทางไปทางทิศตะวันตก ห่างออกไปจากเมืองแคนดี้ประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะถึง Royal Botanical Garden หรือ สวนพฤกษชาติ แห่ง Peradeniya ครับ

    อ่านเพิ่มเติม

    ศรีลังกา (8) : นมัสการพระเขี้ยวแก้ว

     

    วันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 ตอนนี้เราอยู่กันที่เมืองแคนดี้ (Kandy) แล้วครับ วันนี้เราตื่นเช้ากันเป็นพิเศษครับ เพื่อจะไปนมัสการพระเขี้ยวแก้วกัน ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเขี้ยวแก้ว หรือ Sri Dalada Maligawaไม่รู้ว่าเป็นเพราะพวกผมคราวนี้โชคไม่ดีหรือเปล่านะครับ เพราะว่าทางวัดไม่ให้พวกเรา (และคนอื่น ๆ ด้วย) นำกล้องถ่ายรูปเข้าไป ที่จริงแล้ว ผู้ที่เคยมาเที่ยววัดพระเขี้ยวแก้วก่อนหน้านี้ (รวมถึงคุณน้าที่พาผมมาด้วย) ต่างก็ยืนยันว่า สามารถทำกล้องเขาไปถ่ายรูปบรรยากาศข้างในได้

    บางทีอาจเป็นเพราะว่า วันนั้น ประธานาธิบดีของประเทศศรีลังกาจะมานมัสการพระเขี้ยวแก้วด้วย ก็อาจจะเป็นการรักษาคามปลอดภัยของวันนั้นก็ได้

    ดังนั้น ก็ขอแนะนำว่า ก่อนไปที่วัด ให้สอบถามก่อนละกันนะครับว่าวันนั้นเอากล้องไปได้หรือเปล่า จะมีบุคคลสำคัญมาที่วัดหรือเปล่า เพื่อไม่ให้ท่าน ๆ ต้องเจอแบบเดียวกับผมนะครับ

    อ่านเพิ่มเติม

    ศรีลังกา (7) : สีคิริยา เมืองปราการลอยฟ้า


    วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 ตอนเช้าเราไปขึ้นเขา Pink Quartz Mountain มาแล้ว ตอนบ่ายก็ไปขึ้นเขาที่ ดัมบุลลา
    แน่นอน เย็นวันนี้เราจะขึ้นเขากันต่อที่สีคิริยา (Sigiriya)เดิมที่เราวางแผนกันว่า เช้าจะไปนมัสการหลวงพ่อ Wanawasi Rahula Thero กันไม่นาน แล้วจะไปดัมบุลลาต่อ ก็น่าจะไปสีคิริยากันได้ตอนช่วงเที่ยง ๆ บ่าย ๆ

    แต่ว่า พวกเราวันนั้นทำเวลากันได้ไม่ค่อยดี เราออกจากดัมบุลลากันบ่ายสี่เศษแล้ว ตอนนั้นก็เลยมีการ vote กันว่า จะไปสีคิริยากันดีไหม หรือจะเข้าที่พักกันเลย

    เพราะจะได้ไม่ดึกมากอย่างวันก่อนอีก

    แต่ว่า สาเหตุหนึ่งที่คุณแม่ชวนผมมาศรีลังกานี้ก็เพราะว่า สีคิริยา นี่แหละครับ คุณแม่ว่าเคยอ่านนิยายที่เอาสีคิริยาเป็นฉาก อ่านแล้วก็อยากมาเห็นของจริง คุณน้าอีกคนก็ว่า สีคิริยานี่แหละ Highlight ของที่ศรีลังกา ถ้าไม่ไปเยือน ก็เหมือนมาไม่ถึงประเทศศรีลังกา

    ดังนั้นอย่างน้อยเราก็ได้สามเสียงแล้ว (รวมผมด้วย เพราะผมอยากถ่ายรูปอยู่แล้ว) จากทั้งหมด 5 เสียง (ไม่รวมคนขับรถ กับ คุณ guide) พวกเราก็เลยรีบไปสีคิริยากัน แต่ทว่าเราก็ไปถึงกันเกือบจะห้าโมงเย็นแล้ว

    อ่านเพิ่มเติม

    ศรีลังกา (6) : ดัมบุลลา วัดถ้ำบนภูเขา


    หลังจากที่พวกเราขึ้นเขา Pink Quartz Mountain กันแล้ว เราก็แวะไปที่ดัมบุลลา กันต่อครับ

    ดัมบุลลา เป็นวัดถ้ำบนภูเขา แล้ววันนี้เราก็จะขึ้นเขา ขึ้นเขา แล้วก็… ใช่ครับ ขึ้นเขา (ผมชอบภูเขาอยู่แล้วครับ ไม่มีปัญหา)

    อ่านเพิ่มเติม