เราจะจำญาติของเราได้หรือไม่ ถ้าพวกเขากลายเป็นคนจรจัด

ชื่อของ VDO นี้คือ “Have the Homeless Become Invisible?”

ความยาวไม่ถึง 4 นาที… แต่ดูแล้วก็อึ้งไป…

เนื้อหาเป็นการทดลองว่า เราจะจำญาติของตัวเองได้ไหม ถ้าญาติเรากลายไปเป็น “คนจรจัด” ?? อีกนัยหนึ่งคือ คนจรจัดนั้นถูกเพิกเฉยมองข้ามโดยอัตโนมัติหรือไม่?? เราไม่สนใจการมีตัวตนของพวกคนจรจัดเหล่านี้ โดยไม่ได้เกี่ยวว่าเราแกล้งทำเป็นไม่รู้จักพวกเขา…

เพราะความจริงแล้ว เราอาจจะ “ไม่ได้แกล้งไม่รู้จัก” แต่เค้า “ไม่เห็น” หรือ “ไม่รับรู้การมีอยู่” ของคนจรจัดจริง ๆ 

อีกนัยหนึ่งคือ เราที่ไม่ใช่คนไร้บ้าน ไม่ใช่คนจรจัด หรือคนที่ไม่ได้โชคร้าย มีแนวโน้มที่จะ ไม่สนใจ และ อาจมองว่า คนบางกลุ่มในสังคมนั้น “ไร้ค่า”…

ทำให้เพิกเฉยต่อปัญหาที่เกิดขึ้นกับพวกเขาเหล่านั้น

ดูจนจบแล้วผมก็คิดว่า ถ้ามีคนมาทดลองแบบนี้กับผมบ้าง แล้วผมก็ดันจำญาติตัวเองไม่ได้ด้วย ผมจะรับความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับตัวเองในตอนท้ายได้หรือเปล่านะ

 

เสียงไก่ขันยามเช้า



พอดีว่าไม่ค่อยได้กลับบ้านใน กทม. วันนี้ผมก็ตกใจตื่นขึ้นมาว่า ทำไมได้ผมยินเสียงไก่ขัน???



คุณแม่เลยตอบข้อสงสัยผมว่า “ไก่ของเพื่อนบ้านเขาน่ะ เขาเอามาเลี้ยง”

แต่ผมก็ยังสงสัยอยู่ดีแหละว่า.. เลี้ยงไก่กลาง กทม. เลยเนี่ยนะ??

ปัญหาคือ ถ้าไก่ของบ้านอื่น แล้วทำไมเสียงไก่ขันถึงได้มาดังหน้าบ้านเรา

แม่เลยบอกอีกว่า “มันมาขันเพื่อขออาหารบ้านเราน่ะลูก”



อะไรนะ!!?? แบบนี้ก็ เสียไก่กันพอดีสิ ตกลงที่ไก่ขันเนี่ย ไม่ได้ขันเพราะเห็นพระอาทิตย์ขึ้น แต่พวกมันขันเพราะจะมาขอ (หรืออาจจะมาปลุก) ให้แม่เอาข้าวไปให้พวกมันกิน!!!

พอผมเดินออกไปที่ประตูบ้าน ก็เห็นไก่สองตัว ตัวผู้ตัว ตัวเมียตัว ยืนขันอยู่ที่รั้วบ้านจริง ๆ ด้วยล่ะสิ

แม่ก็เลยบอกว่า “เนี่ย เดี๋ยวลูกมันก็มา ที่จริงมันมาสองรอบแล้วล่ะ แต่ยังไม่ว่างเอาข้าวไปให้”



ผมก็เคยได้ยินแต่ว่า ไก่กิน “ข้าวเปลือก” แต่นี่แม่ผมเอา “ข้าวสาร” ให้มันกิน





ผมถ่ายรูปไม่ทัน ตอนที่พวกมันชะเง้อคอเข้ามาผ่านรั้วบ้านเรา ตอนนั้นพวกมันคงนึกว่า วันนี้จะไม่มีใครเอาข้าวไปให้ 



แล้วอีกรูปที่ผมถ่ายไม่ทัน ก็คือตอนที่ไก่ครอบครัวนี้ มันวิ่งห้อ กรูกันเข้ามาจากไหนก็ไม่รู้มากินข้าวสารที่แม่โปรยให้



ความจริงมันมีอีกครอบครัวนึงนะ แต่วันนี้เห็นแค่นี้ ส่วนไก่อีกตัวที่กินอยู่ห่าง ๆ นี้ แม่บอกว่า “มันเป็นไก่หนุ่มกว่า ดูจากหงอน หงอนยังเล็ก สงสัยทะเลาะกันเลยไม่มากินใกล้ ๆ”



อืม.. ก็แปลกดีนะ มีอย่างนี้ด้วย

 

“ก๊าซออกซิเจน” ถูกผลิตจาก “แบคทีเรียสังเคราะห์แสง” ใน “EM Ball” จริงหรือ ?

 

ชื่อเรื่องเดิม “แบคทีเรียสังเคราะห์แสง” ที่อยู่ใน “EM Ball” กับ ความเข้าใจผิดของการสังเคราะห์แสง ว่ามีแต่จะช่วยเพิ่ม oxygen

ดัดแปลงจาก tweet ใน twitter @paul_lin

[สรุปสั้น ๆ 3 ข้อ ถ้าไม่อยากอ่านมาก]

1. “การสังเคราะห์แสง” (Photosynthesis) นั้น มีแบบที่เรียกว่า Anoxygenic photosynthesis ด้วย คือ ไม่มีออกซิเจนเกิดขึ้น
2. “แบคทีเรียสังเคราะห์แสง” (Photosynthetic bacteria) ที่คาดว่าจะอยู่ใน EM ball ตามแบบ EM Technology ส่วนใหญ่ เป็นกลุ่ม purple bacteria
3. “Purple bacteria” เป็น กลุ่ม แบคทีเรียสังเคราะห์แสง ที่จะไม่มีก๊าซออกซิเจนเกิดขึ้นจากการสังเคราะห์แสง

 

(ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจ อยากทราบรายละเอียดต่ออิกนิด ก็อ่านต่อได้เลย) 

 

 

[อารัมภบท]

ผมพอจะเดาออกแล้วล่ะว่า ทำไมถึงมีคนคิดว่า EM Ball จะช่วยเพิ่มก๊าซ oxygen ให้กับน้ำได้ ทั้ง ๆ ที่มีคนพยายามอธิบายแล้วว่า จุลินทรีย์ที่อยู่ใน EM Ball นั้น อาจจะไปลดปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ หรือ Dissolved Oxygen (DO) [1, 2]

นั่นเป็นเพราะหลายคน “ไม่รู้จัก” สิ่งที่เรียกว่า “แบคทีเรียสังเคราะห์แสง” นั่นเอง (และอาจจะเข้าใจการสังเคราะห์แสงผิดด้วย)

นี่ไม่ใช่เป็นการมาสนับสนุนหรือโต้แย้งว่า ว่า EM Ball ช่วยหรือไม่ช่วยเรื่องน้ำเสีย หรือ ไม่ได้มาเสนอว่า ถ้าจะใช้ EM Ball หรือ EM Technology จริง ๆ แล้วควรจะใช้วิธีไหน หรือ กรณีไหน จึงทำให้เกิดประโยชน์ได้จริง

ย้ำว่า นี่ไม่ใช่การเสนอวิธีการแก้น้ำเน่าเสีย เพียงแต่จะพูดเรื่อง “แบคทีเรียสังเคราะห์แสง” ที่น่าจะมีอยู่ใน EM Ball ตาม EM Technology เท่านั้น (โดยไม่สนใจ จุลินทรีย์ชนิดอื่น เช่น lactic acid bacteria, yeast หรือ เชื้ออื่น ๆ ที่มีอยู่ใน EM Ball เช่นกัน เพราะนอกวัตถุประสงค์)

 

 

[บทความ]

หลายคนเข้าใจผิด คิดว่า “แบคทีเรียสังเคราะห์แสง” หรือ “Photosynthetic bacteria” มีแต่จะช่วยเพิ่ม oxygen gas ให้กับแหล่งน้ำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำเน่าเสีย อันที่จริงแล้ว ไม่ใช่แบคทีเรียสังเคราะห์แสงทุกตัวหรอกนะที่จะให้ oxygen

ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจคำว่าสังเคราะห์แสงกันก่อน หลายคน (ยังคง) เข้าใจผิดว่า การสังเคราะห์แสงคือกระบวนการสร้างออกซิเจน ที่จริงแล้วไม่ใช่อย่างนั้น

การสังเคราะห์แสงคือ การที่สิ่งมีชีวิตสังเคราะห์อาหารหรือพลังงาน “โดยใช้พลังงานจากแสง” ส่วน oxygen เป็นผลพลอยได้เท่านั้น ไม่ใช่จุดประสงค์หลัก

การสังเคราะห์แสงแล้วจะได้ก๊าซออกซิเจน จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อ ในกระบวนการรับส่ง electron นั้น มีโมเลกุลของออกซิเจนอยู่ในกระบวนการด้วย โดยทั่วไปก็คือโมเลกุล oxygen จากน้ำ (H2O) ซึ่งตรงนี้จะเรียกว่า oxygenic photosynthesis

และ oxygenic photosynthesis ก็คือ กระบวนการสังเคราะห์แสงที่เราเรียนกันสมัยประถมและมัธยมศึกษานั่นเอง ซึ่งถ้าจำได้ ผลลัพท์หลักของกระบวนการนี้คือ “แป้ง” หรือ carbohydrate ส่วน oxygen ถือเป็น by-product หรือผลพลอยได้เท่านั้น

ความจริงก็คือว่า “การสังเคราะห์แสง” ของ “แบคทีเรียสังเคราะห์แสง” หลายชนิดนั้น ไม่มีออกซิเจนอยู่ในกระบวนการเลย จึงไม่มีก๊าซออกซิเจนเกิดขึ้น กล่าวคือ เป็นการสังเคราะห์แสงที่เรียกว่า anoxygenic photosynthesis [3]

 

 

ขอกลับมาที่ “แบคทีเรียสังเคราะห์แสง” หรือ Photosynthetic Bacteria ความจริงแล้ว แบคทีเรียสังเคราะห์แสงนั้น มีหลายชนิด แบ่งได้ง่าย ๆ ก็จะเป็น Oxygenic photosynthetic bacteria ซึ่งสร้างก๊าซออกซิเจนได้ และ Anoxygenic photosynthetic bacteria ที่ไม่ได้สร้างก๊าซออกซิเจน [4, 5]

มีเพียง “แบคทีเรียสังเคราะห์แสง” กลุ่ม “Cyanobacteria” เท่านั้น ที่สังเคราะห์แสงแล้วจะได้ก๊าซออกซิเจนออกมา (เป็นผลพลอยได้)

คำถามที่เกิดขึ้นตอนนี้ก็คือว่า แบคทีเรียสังเคราะห์แสงที่อยู่ใน EM Ball นั้น มี Oxygenic photosynthetic แบคทีเรียน เช่น Cyanobacteria หรือไม่?

 

 

ถ้าเราแวะไปดูข้อมูลใน website ของ EMRO (EM Research Organization, Inc) ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า EM Technology ทั้งภาษาไทย [6] และภาษาอังกฤษ [7] ไม่ได้บอกชัดเจนว่า แบคทีเรียสังเคราะห์แสงที่ว่าเป็น species ไหน

 

 

แม้ว่าเราจะยังไม่ทราบว่า bacteria ที่ดังกล่าวเป็น species ไหนก็ตาม แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตุว่า ไม่มีการกล่าวใน website เลยว่า “แบคทีเรียสังเคราะห์แสง” ที่กล่าวถึงนั้น สามารถผลิตออกซิเจนได้ ที่น่าสนใจก็คือ มีการระบุไว้ชัดเจนว่า แบคทีเรียสังเคราะห์แสง specie นี้ สามารถสังเคราะห์ไฮโดรเจนได้ (ข้อความที่ว่า คือ “Research is also underway in its use in hydrogen production and its ability to decompose persistent substances.” [7] และ “ภายใต้สภาพที่มีการผลิตไฮโดรเจนมันสามารถย่อยสลายสารต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง” [6] )

ซึ่งจากข้อมูล “ความสามารถในการสร้างไฮโดรเจนของเชื้อ” นั้น ทำให้เราคาดเดาได้ว่า “แบคทีเรียสังเคราะห์แสง” ที่ว่า น่าจะเป็นกลุ่ม non-sulpher bacteria [8]

ที่จริงแล้ว Cyanobacteria เอง ก็สร้างไฮโดรเจนได้เช่นกัน [9] แต่ถ้า Cyanobacteria เป็นตัวหลักของ Photosynthetic bacteria ใน EM จริงแล้วล่ะก็ ทำไมใน website ของ EMRO จึงไม่ระบุไปเลยว่า “แบคทีเรียสังเคราะแสง” ที่ว่านี้ สังเคราะห์ออกซิเจนได้ กลับกล่าวไว้ถึงเพียงแค่ไฮโดรเจน

 

 

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง เชื่อได้ว่า “แบคทีเรียสังเคราะห์แสง” ที่พูดถึงกัน ว่าอยู่ใน EM Ball นั้นหมายถึง กลุ่ม Purple bacteria เช่น Rhodopseudomonas palustris [10]

 

 

จากแผนผังเดิม ก็จะเห็นว่า purple bacteria นั้น เป็นกลุ่ม anoxygenic photosynthetic bacteria ซึ่งจะไม่เกิด oxygen ขึ้น เพราะเป็นการสังเคราะห์แสงแบบ anoxygenic photosynthesis ซึ่งไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับโมเลกุลออกซิเจน [3, 4, 5, 11]

Purple bacteria นั้น ก็ยังแบ่งออกได้เป็น purple sulfer bacteria ซึ่งใช้ sulfer จากแหล่งต่าง ๆ เช่น ก๊าซไข่เน่า (H2S) และ purple nonsulfer bacteria ซึ่งไม่ได้ใช้ sulfer เป็นหลัก (คือ.. บาง specie ก็ใช้บ้าง) แต่ใช้อย่างอื่นเป็นหลักแทน เช่น Hydrogen ในกระบวนการสังเคราะห์แสง [12, 13]

 

 

ดังนั้นแทนที่สมการ “การสังเคราะห์แสง” จะเป็นในแบบที่เราคุ้นเคยกันตั้งแต่ประถมศึกษา คือ

 

nCO2 + 2nH2O + พลังงานแสง -> (CH2O)n + nO2 + nH2

มันก็จะกลายเป็น CO2 + 2H2S -> CH2O + H2O + 2S แทน (ขอยกตัวอย่างเฉพาะกรณีที่ใช้ sulfer จาก ก๊าซไข่เน่า) [13]

 

 

ซึ่งจากตรงนี้คงพอจะเข้าใจแล้วว่า ทำไมถึงกำจัดกลิ่นเหม็นได้ (ก็มันกำจัดก๊าซไข่เน่า หรือ H2S ได้ ผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสง แบบ anoxygenic photosynthesis แต่จะไม่ได้ก๊าซ O2 ออกมานะ เพราะจะได้เป็น 2S หรือ กำมะถัน ที่เป็น elemental sulfur แทน)

ซึ่งหลังจากนี้ เจ้า elemental sulfer นี้ จะไปทำปฎิกิริยาเป็นอะไรต่อก็อีกเรื่องแล้ว

 

 

และนั่นก็คือ Anoxygenic photosynthesis การสังเคราะห์แสงในอีกแบบ (ที่จะไม่เกิดก๊าซออกซิเจนขึ้น) ที่คนส่วนใหญ่ (ในขณะนี้) ไม่รู้จักกัน ก็เลยหลงเข้าใจกันไปว่า เมื่อพูดถึงการสังเคราะห์แสงเมื่อใดแล้วล่ะก็ จะต้องได้ก๊าซออกซิเจนขึ้นมาเมื่อนั้น

 

 

ถ้าอ่านถึงตอนนี้แล้ว หลายคนเกิดยังติดใจว่า เป็นไปได้ไหมว่า EM Ball มี cyanobacteria (ซึ่งเป็นแบคทีเรียสังเคราะห์แสงแบบสร้างออกซิเจน) แต่ว่า ผมค้นไม่พบเอง แล้วสรุปไปว่าส่วนใหญ่คือ purple bacteria

(คือ ก็เป็นไปได้นะที่ผมหาไม่พบเอง แต่ที่จริงก็มีแหล่งข้อมูลหลายแห่งบอกว่ามีแค่นี้จริง ๆ)

ก็อยากจะให้ลองพิจารณาข้อมูลนึง คือว่า มีความพยายามนำ EM Ball ไปควบคุมปรากฎการณ์ที่เรียกว่า Cyanobacteria bloom [14] ด้วย [15, 16]

ถ้ามีความพยายามตรงนี้ ก็แสดงว่า คนที่จะนำไปใช้ก็คงจะรู้อยู่แล้วว่า ไม่น่าจะมี cyanobacteria อยู่ใน EM Ball (เพราะเราจะเอา cyanobacteria ไปโยนใส่แหล่งน้ำ เพื่อหวังให้ไปควบคุม cyanobacteria bloom ที่กระจายอยู่ในเต็มไปหมด ทำไมกัน??)

 

 

[สรุป] (ถ้าอ่านไม่รู้เรื่องเลยขอสรุปสามข้อดังนี้)

1. “การสังเคราะห์แสง” (Photosynthesis) นั้น มีแบบที่เรียกว่า Anoxygenic photosynthesis ด้วย คือ ไม่มีออกซิเจนเกิดขึ้น (ต่างจาก Oxygenic photosynthesis ที่เกิดขึ้นในพืช และ cyanobacteria ที่จะมี oxygen เป็นผลพลอยได้)
2. “แบคทีเรียสังเคราะห์แสง” (Photosynthetic bacteria) ที่คาดว่าจะอยู่ใน EM ball ตามแบบ EM Technology ส่วนใหญ่ เป็นกลุ่ม purple bacteria (ซึ่งจะมี cyanobacteria ร่วมด้วยหรือไม่นั้น ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลยืนยัน เพราะหาไม่ได้เลย ถ้าใครมีช่วยแจ้งด้วย)
3. “Purple bacteria” เป็น กลุ่ม แบคทีเรียสังเคราะห์แสง ที่เป็น Anoxygenic photosynthetic bacteria คือ เป็นแบคทีเรียสังเคราะห์แสง ที่จะไม่เกิดก๊าซออกซิเจนขึ้นจากการสังเคราะห์แสง

 

 

[หมายเหตุ]

เนื่องจากผมเห็นหลายคนพูดและเขียนทำนองว่า แบคทีเรียสังเคราะห์แสงจะเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำเสียเป็นกลไกหลักของ EM Ball ผมจึงนำเสนอข้อมูลตรงนี้ว่า การสังเคราะห์แสงของแบคทีเรียสังเคราะห์แสงมีวิธีที่ไม่มีออกซิเจนด้วย (โดยไม่ขอลงรายละเอียด เพราะลึกเกิน)

ส่วนวิธีการที่เราจะนำ EM Ball ตามวิธีของ EM Technology ไปใช้บำบัดน้ำเสียในสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั้น ไม่ใช่จุดประสงค์ของบทความนี้

 

 

[References]

1. กลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. EM และน้ำหมักชีวภาพ แก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียได้จริงหรือ ? Available at: http://www.eng.chula.ac.th/index.php?q=th%2Fnode%2F3915. Accessed November 5th, 2011.
2. ElearningEng. มายาคติของEM. Available at: http://www.youtube.com/watch?v=0920PhZHNuA. Accessed November 5th, 2011.
3. Anoxygenic photosynthesis. Available at: http://en.wikipedia.org/wiki/Anoxygenic_photosynthesis. Accessed November 5th, 2011.
4. Anoxygenic Photosynthetic Bacteria: Proteobacteria. Available at: http://www.clfs.umd.edu/labs/delwiche/PSlife/lectures/Proteo.html. Accessed November 5th, 2011.
5. Photosynthetic Bacteria. Available at: http://www.life.umd.edu/classroom/bsci424/BSCI223WebSiteFiles/PhotosyntheticBacteria.htm. Accessed November 5th, 2011.
6. จุลินทรีย์ใน EM. Available at: http://www.emro-asia.com/about-em/micro-organisms-in-em.html. Accessed November 5th, 2011.
7. Microorganisms in EM. Available at: http://emrojapan.com/about-em/microorganisms-in-em.html. Accessed November 5th, 2011.
8. Agriculture and Consumer Protection. Chapter 5 – Hydrogen production. Available at: http://www.fao.org/docrep/w7241e/w7241e0g.htm. Accessed November 5th, 2011.
9. Dutta D et al. Hydrogen production by Cyanobacteria. Available at: http://www.microbialcellfactories.com/content/4/1/36. Accessed November 5th, 2011.
10. Effective microorganism. Available at: http://en.wikipedia.org/wiki/Effective_microorganism. Accessed November 5th, 2011.
11. What Is Anoxygenic Photosynthesis? Available at: http://www.ehow.com/about_5142284_anoxygenic-photosynthesis.html. Accessed November 5th, 2011.
12. Purple bacteria. Available at: http://en.wikipedia.org/wiki/Purple_bacteria. Accessed November 5th, 2011.
13. Lindquist J. Bacteriology 102 Enrichment and Isolationof Purple Non-SulfurPhotosynthetic Bacteria. Available at: http://www.splammo.net/bact102/102pnsb.html. Accessed November 5th, 2011.
14. CDC. Harmful Algal Blooms: Cyanobacteria: Cyanobacteria and CyanoHABs Facts. Available at: http://www.cdc.gov/hab/cyanobacteria/facts.htm#cyano. Accessed November 5th, 2011.
15. Lurling M. Cyanobacteria blooms cannot be controlled by Effective Microorganisms (EM) from mud- or Bokashi-balls. Hydrobiologia 2010;646(1):133-43. Available at: http://www.mendeley.com/research/cyanobacteria-blooms-cannot-be-controlled-by-effective-microorganisms-em-from-mud-or-bokashiballs-14/
16. Control of cyanobacterial bloom with effective microorganisms. Available at: http://en.cnki.com.cn/Article_en/CJFDTOTAL-HJJZ201001024.htm. Accessed November 5th, 2011.

 

 

เขียนครั้งแรกที่ facebook 5 พฤศจิกายน 2554


นั่นล่ะคือ.. การซุบซิบนินทา

เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมไปดูหนังเรื่อง DOUBT ที่ลิโด้ สยามสแควร์มาครับ

หนังเรื่องนี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่าง บาทหลวง กับ บรรดาแม่ชี ในโบสถ์แห่งหนึ่ง ซึ่งภายในโบสถ์นั้นก็จะมีโรงเรียนที่เปิดรับนักเรียน คล้าย ๆ กับโรงเรียนคริสต์บ้านเรา โดยบรรดาแม่ชีกับบาทหลวง ก็จะมีอีกสถานะนึง คือจะเป็นครูผู้สอนด้วย

ในเรื่อง บาทหลวงที่เป็นตัวเอกเนี่ย เป็นครูพละ แม่ชีสาว ๆ คนนึงเป็นครูประจำชั้น และสอนประวัติศาสตร์ด้วย แล้วก็มีแม่ชีอายุมากอีกคนที่เป็นตัวเอก เป็นครูใหญ่ของโรงเรียน

อ๊ะ ๆ ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งเข้าใจไปว่า เป็นเรื่องชู้สาวระหว่าง บาทหลวงกับแม่ชีนะ มันไม่ใช่อย่างนั้น

หนังเรื่องนี้เปิดเรื่องด้วยการเทศน์ของบาทหลวงเรื่อง "ความสงสัย" โดยคำสรุปของบทเทศน์นั้นก็คือ "Doubt can be a bond as powerful and sustaining as certainty"

ถ้าจะให้ผมแปล ผมก็จะแปลประมาณว่า ความสงสัย (ในสิ่งหนึ่งนั้น) มันจะผูกมัดใจเราไว้อย่างรุนแรงและมั่นคง ราวกับว่า เป็นความแน่ใจ (ว่าสิ่งนั้น ได้เป็นไปอย่างที่เราสงสัย อย่างแน่นอน)

เรื่องของเรื่องก็คือ บรรดาแม่ชี ไม่ว่าคนสาว หรือ คนแก่ เกิดไปสงสัยพฤติกรรมบางอย่างของบาทหลวง !! ก็เลยจับกลุ่มซุบซิบนินทา ตั้งสมมติฐานไปเรื่อย

หนังเรื่องนี้มีประเด็นข้อคิดต่าง ๆ มากมาย แต่ที่จะมาเล่าเรื่อย ๆ เปื่อย ๆ ให้ฟังในวันนี้ ผมเอามาจากบทเทศน์บทนึงของบาทหลวง ในเรื่องเกี่ยวกับ การนินทา ผมเห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยจะมาถ่ายทอดให้ท่านผู้อ่านได้อ่านกันครับ

***

อ่านเพิ่มเติม

ก้าว…รอ…ก้าว (ปีสอง) ก้าวฯที่ ๒๙

ก้าวฯที่ ๒๙

ก้าว..รอ..ก้าว (ปีสอง)
‘บ้านหนอน‘ ออนไลน์แมกกาซีน
http://kaawrowkaw2.wordpress.com
kaawrowkaw@hotmail.com

สำนักหนอนสนทนา
http://www.winbookclub.com

 

 

 

 

 

Cover(s) by : ยางมะตอยสีชมพู

.

http://kaawrowkaw.files.wordpress.com/2006/12/kaawss.jpg?w=46&h=35

.

กองบอกอ :
อานันท์ ประทีฯ / หนุงหนิง / ยางมะตอยสีชมพู / (…) /
ธุลีดิน / พงษ์ปรัชญา / สารากร / Plin, :-p /

ก้าว…รอ…ก้าว (ปีสอง) ก้าวฯที่ ๒๘

ก้าว..รอ..ก้าว (ปีสอง)
‘บ้านหนอน‘ ออนไลน์แมกกาซีน
http://kaawrowkaw2.wordpress.com
kaawrowkaw@hotmail.com

สำนักหนอนสนทนา
http://www.winbookclub.com

Cover(s) by : ยางมะตอยสีชมพู

.

http://kaawrowkaw.files.wordpress.com/2006/12/kaawss.jpg

.

กองบอกอ :
อานันท์ ประทีฯ / หนุงหนิง / ยางมะตอยสีชมพู / (…) /
ธุลีดิน / พงษ์ปรัชญา / สารากร / Plin, :-p /

ร้านกุ๊กชม ท่าเรือเทเวศร์

ก่อนที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อท่านผู้อ่าน (ที่บังเอิญเปิดหน้านี้เข้ามา) ก็ต้องขอแจ้งให้ทราบเสียตั้งแต่ย่อหน้าแรกนี่เลยนะว่า entry นีไม่ได้ตั้งใจเขียนขึ้นเพื่อเป็นการ review ถึง "ร้านกุ๊กชม" ว่ามีเมนูอาหารอะไรบ้าง อร่อยหรือไม่ ราคาถูกจริงหรือไม่ ฯลฯ

พอดีว่าไปชิมมาแล้ว ก็เลยมีเรื่องอยากจะเล่า (แบบว่า เรื่อย ๆ เปื่อย ๆ) จึงได้เขียน entry นี้ขึ้น ซึ่งถ้าหากว่าคุณ ๆ ท่าน ๆ ต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับอาหาร ก็ลองถามคุณ google ดูอีกที เพราะคุณ google เค้ารู้ทุกอย่าง (ถึงขนาดบางทียังพาท่านมาที่นี่ได้)


แต่รูปข้างบนเนี่ย ผมถ่ายแถว ๆ ร้านกุ๊กชมล่ะ (ซึ่งก็ไม่ได้เกี่ยวกันเล้ย.. ถ้าไงลองไปหาดูนะว่าถ่ายตรงไหน) และรูปต่อ ๆ ไปก็ถ่ายแถว ๆ นั้นเหมือนกัน เพราะบังเอิญ.. "รอคิว" นานไปหน่อย

เรื่องของเรื่องคือ ผมได้รับ forward mail มา หัวเรื่องคือ "กุ๊กชม" อาหารหรูระดับโรงแรมห้าดาว แต่ราคาบ้าน ๆ อร่อยคุ้มค่าเกินราคา ตอนแรกผมก็ยังไม่ได้สนใจอะไรมากหรอกครับ แต่ว่าหลังจากนั้นก็ไปผ่านตาบทความอันนั้น (ที่ได้รับเมล์มา) ตาม webboard ต่าง ๆ อีกหลาย ๆ ครั้ง ก็เลยคิดว่า ต้องไปลองชิมดูสักทีดีกว่า

พอดีวันนี้ (21 มีนาคม 2552) ว่าง ก็เลยสบโอกาส ได้ไปสักที

อ่านเพิ่มเติม

เที่ยวเวียดนามกับ Plin, :-p

พอดีไปเที่ยวเวียดนามเมื่อปีที่แล้วตอนช่วงเดือนมีนาคม ก็เริ่มเขียนตอนแรกที่ blog มาตั้งแต่เมษายนปีที่แล้ว เขียน ๆ หยุด ๆ วันนี้เขียนตอนที่ 20 ประมาณปีนึงพอดี ไม่ไหวแล้ว จบดีกว่า

วันนี้เลยมาทำ link สารบัญไว้ขอรับ

Truth Happens : คำกล่าวในประวัติศาสตร์ กับ ความจริงที่ปรากฏ

คิดว่าสหายหลายท่านคงรู้จักหรือเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ Linux กันบ้าง บ้างก็มอง Linux ว่าจะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ Microsoft Windows บ้างก็คิดว่าคงไม่มีทางเป็นไปได้ข้าพเจ้าคงไม่มาเล่าเรื่องราวของ Linux ให้สหายฟัง ถ้าสนใจสามารถอ่านเรื่องราวคร่าว ๆ ได้ที่นี่

สำหรับ VDO ที่นำมาให้ชมกันนี้ เป็นโฆษณา (ที่จริงไม่อยากใช้คำนี้เท่าไหร่ แต่ไม่รู้ว่าจะใช้คำว่อะไรดี) จากบริษัท Red Hat ซึ่งเป็น Linux ค่ายใหญ่ค่ายหนึ่ง

อ่านเพิ่มเติม